วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วมปี 2554


น้ำท่วมปี 2554
       ณ วันนี้ 1 พฤศจิกายน  2554 คนกรุงเทพฯ อยู่ในภาวะตึงเครียดกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะคนที่อยู่ชั้นใน (เพราะกรุงเทพฯ ชั้นนอกน้ำได้ท่วมไปแล้ว หลังจากที่อดทนรอว่า น้ำจะท่วมหรือไม่ และ เมื่อไร..แบบมืดมนจริงๆ.บางเขน จตุจักร มีนบุรี ลาดกระบัง และฝั่งธนบุรีที่หนักที่สุด ตอนนี้) น้ำบางส่วนข้ามถนนรามอินทรามาบ้างแล้ว แต่เป็นแบบค่อยๆมา เหมือนๆกับไม่น่าจะท่วม แต่ก็ท่วม...อธิบายอะไร ได้แค่นี้ คือ ภาวะนี้ ไม่รู้ว่า จะมีน้ำมาหรือไม่ เหมือนน้ำมันหยุดนิ่ง แต่ก็ท่วมโครมๆ ในฝั่งธนบุรี แต่ก็มีข่าวประปรายบ้างในย่านตะวันออก เอ...เอาเป็นว่า ไม่มีใครตอบได้ ก็แล้วกัน
ปรากฎการณ์แบบนี้ มันไม่น่าจะเกิดขึ้นในยุคที่วิทยาศาสตร์เราก้าวหน้ามากๆ แบบอธิบายได้เป็นฉากๆ
         ความผิดพลาดครั้งนี้ ใหญ่หลวงมากๆ เริ่มต้น จะไม่ขอกล่าว แต่อยากจะอธิบายในสิ่งที่น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
เช่น หลักการของฝายน้ำล้น..

         น้ำเหนือบ่ามา ทุกๆเขตและจังหวัด ได้ช่วยกันสร้างเขื่อน เพื่อหวังว่าเขื่อนจะกั้นไม่ให้น้ำท่วม พื้นที่ เขต อำเภอ หรือจังหวัดของตน โดยลืมเสียสิ้นว่า
        เขื่อนมีคุณสมบัติเก็บกักน้ำให้ได้ปริมาณมากๆ เขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างถาวรที่ต้องมีความแข็งแรงมากๆ เพียงพอต่อการรับแรงกดดันของน้ำตามปริมาณที่เก็บกักไว้
         ภาพที่เห็นด้วยตาตนเอง และในทีวี...เขื่อนดิน (เหลวๆ) กับ กำแพงถุงทรายที่พยายามสร้างให้สูงที่สุด (เพื่ออะไร...กัน) พังทลายลงมา (อย่างที่มัน..จะเป็น) เมื่อน้ำไหลจากที่สูงกว่ามาสะสมกันจนระดับสูงขึ้นๆ (ความจริง ถ้ากำแพงที่สร้างทนได้ น้ำน่าจะสูงได้สัก 60 เมตร) แรงดันมหาศาลก็ทะลายกำแพงกั้นน้ำนั้นลงมา
        แต่ที่ประหลาดใจ..ก็คือ..ทุกๆ พื้นที่ ได้พยายามสร้างเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมาให้สูงเท่าที่จะทำกันได้ และก็เป็นไปอย่างที่มัน..จะเป็น คือ เขื่อนแรกพัง...เขื่อนต่อมาก็จะพังต่อๆไปแบบโดมิโน

        มันเป็น อย่างที่มันจะเป็น เขื่อนแรกกั้นน้ำไว้มากเข้าๆ จนแรงดันของมวลน้ำถึงจุดที่พังเขื่อนได้ น้ำก็ทะลักรุนแรง เพราะได้สะสมพลังงานไว้มากมาย เมื่อมาถึงเขื่อนต่อมา พลังงานที่สะสมไว้ยังไม่หมด แถมน้ำยังถูกบังคับให้สะสมพลังงานต่อไป เขื่อนชั้นต่อๆไป จึงหมูเหลือเกิน ..เราจึงเห็นสถานการณ์น้ำท่วมปี 2554 เป็นอย่างที่มันเป็น
        ฝายน้ำล้น มีความมุ่งหมายที่จะชะลอน้ำให้ลดความรุนแรงและมีน้ำกักเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น ในกรณีของปี 2554 ถ้ากลับไปแก้ไขได้ หลักการฝายน้ำล้นจะมีประโยชน์มากที่สุด แต่..ท่วมน่ะ ท่วมแน่ หวังว่า คงไม่รุนแรงอย่างนี้
       แทนที่จะสร้างเขื่อน ก็มาสร้างฝายน้ำล้นแทน โดยกำหนดให้สร้างคันน้ำล้นของจังหวัด/พื้นที่ให้ลดหลั่นกันลงมาตามระดับความสูงต่ำของพื้นที่และความลาดชัน ทุกๆพื้นที่ ยอมให้มีน้ำสูงได้ โดยไม่สร้างความเดือดร้อน เช่น จุดนี้สร้างคันน้ำล้นสูง 1 เมตร จุดต่อมา สูง 70 เซนติเมตร เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กรุงเทพจะท่วม..ไม่ท่วม

    วันนี้ มีประกาศทางทีวี แจ้งการเพิ่มช่องทางการระบายน้ำลงทะเลเพิ่ม โดยให้ไหลผ่านทางคลองพระโขนง..เพื่อช่วยระบายน้ำด้านตะวันออกและด้านตะวันตกที่เปิดประตูระบายน้ำมาตั้งนานแล้ว
     เอ..มันจะทันการณ์ไหมนี่!!!!
     อยากขอบคุณ กทม.เหมือนกัน ถ้ายอมให้มีการระบายน้ำ (ช่วย) เสียตั้งแต่เนิ่นๆ ความเสียหายทางด้านบน คงไม่มากขนาดนี้
     ทีนี้..ก็..เป็นปัญหาล่ะ ว่าปริมาณน้ำจะสูงเท่าไหร ถ้าเกินพนังกั้นน้ำละก็...ป่อมแป่ม..แต่ที่แน่ๆ ชุมชนหลายๆชุมชนน้ำต้องท่วม ไม่มากก็น้อย
     ที่นี้ก็รอ..รอ..อย่างเดียว หวังว่า ไม่เป็นเช่น นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ที่แม้แต่คน ยังอพยพไม่ทัน...

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฤา ถึงครา..น้ำจะท่วมกรุงเทพหรือไร

วันนี้ ก็ 9 ตุลาคม 2554
     มีผู้คนที่เกิดมานานหลายๆ สิบปี เปรียบเปรยปริมาณน้ำของปีนี้ว่า หนักหนาสาหัสกว่าทุกครั้งที่ผ่านๆมา นับเป็นสถิติที่ ถึงอย่างไร..ก็ต้องบันทึกไว้ เพราะจะได้จำไว้เป็นบทเรียน ชาวบ้านตากให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า "น้ำปีนี้มากที่สุดนับแต่สร้างเขื่อนภูมิพลมา" และมีชาวบ้านอีกหลายๆจังหวัดทั้งพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อยุธยา
     วันนี้ก็อยากพูดถึง นครอโยธยาในความรู้สึกของชาติตะวันตกที่ย้อนกลับไปครั้งอโยธยาเป็นราชธานี รายการของทีวีช่อง..ไม่ได้สังเกต
     ผู้คนในนครอโยธยา อยู่กันอย่างเรียบง่าย สร้างบ้านไม้อยู่ในสระน้ำ แต่มั่นคงแข็งแรง ตัวเรือนโปร่งอากาศพัดผ่านทำให้เย็นสบาย มีพื้นที่ส่วนกลางเป็นที่ส่วนรวมของครอบครัว ง่ายต่อการทำความสะอาด ชีวิตของคนอยุธยาจะเดินทางโดยเรือ ทุกๆบ้านจะมีเรือของตนเอง ผู้คนในอโยธยาศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า วัดแต่ละแห่งถูกสร้างอย่างวิจิตรอยู่ทั่วไป ความสวยงามของวัดวาอารามและบ้านเรือนที่มีการสัญจรทางน้ำเหมือนๆกับเมืองเวนิส อโยธยาจึงได้ชื่อว่า เวนิสตะวันออก...เสียดายที่ผมยังหารายการทีวีย้อนหลังยังไม่เจอ
     ย้อนกลับมา..ที่สถานการณ์น้ำ ณ เวลานี้ มีคำเตือนอุทกภัยจากทางราชการแล้ว สำหรับคนกรุงเทพ ผมอยู่พระโขนง ที่มีระดับพื้นดิน คือ สุขุมวิท ที่ 0.00 ม. เที่ยบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) นั่นหมายความว่า ถ้าไม่มีพนังกั้นน้ำ ในยามปกติทั่วๆไป สุขุมวิทจะมีน้ำท่วมตามการขึ้น-ลงของน้ำทะเล ณ เวลานี้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง คือ อยู่ที่ +2 เมตร ที่ถูกต้องก็คือ เราอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ 2 เมตร อือ...น่าคิด
     ผมไม่โทษใครหรอก ถ้าน้ำท่วมกรุงเทพ หรือที่ไหนๆก็ตาม เพราะเป็นผลพวงจากอดีต ที่แม้แต่ผมเองก็มีส่วนทำให้น้ำท่วม เพราะ
  • เพราะสมัยเด็กประมาณ ป.2 ผมก็เข้าป่าไปทำถ่านที่ป่าละเมาะข้างบ้าน เอาถ่านไปขายให้คุณครูปีบละ 1.50 บาท มีเงินออมสำหรับไปซื้อหนังสะติ้ก และยังเหลือไว้ซื้อข้าวเกรียบว่าวหรือก๋วยเตี่ยวในวันสงกรานต์อีก
  • นอกจากนั้น กลุ่มนักแม่นหนังสะติ้กยังมีการจุดไฟไล่กระรอกกระแตให้ออกมาจากโพรงหรือพุ่มไม้ ให้มาเป็นเหยื่อหนังสะติ้กอีก
      อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีป่าละเมาะที่มีเห็ดหอบ เห็ดขอนไว้เก็บเป็นอาหารตามฤดูกาล
  • โตขึ้นอีกนิด มีการเผาป่าเพื่อทำนา อันนี้ทำให้ป่าชายทุ่งและรอบๆบ้านค่อยๆหายไป จนในที่สุด เด็กๆก็ไม่มีป่าให้ยิงนกหรือเก็บลูกตับเต่า หรือแม้กระทั่งเป็นที่เลี้ยงความในยามฤดูทำนาอีกต่อไป กป่าไปเป็นนา 
  • เราได้ใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย นั่นคือ การทำลายธรรมชาติทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ จนกระทั่งถึงวันนี้ ธรรมชาติเป็นไปตามครรลองของมัน เมื่อมีผลบวก ธรรมชาติก็มีผลลบเช่นกัน 
  • ที่จะไม่กล่าว ไม่ได้เลย เราเหยียบแผ่นดินอยู่ทุกวันนี้ แผ่นดินคงจะหนักน่ะ... 

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

พยากรณ์อากาศพิษณุโลก


พยากรณ์อากาศพิษณุโลก
สภาพอากาศปัจจุบัน  
 ณ เวลา 22:00 น.

27.5 °Cพิษณุโลก
จุดน้ำค้าง25.4°C
ความชื้นสัมพัทธ์88 %
ลมลมสงบ
เมฆมีเมฆมาก
ทัศนวิสัย10 กม.
ความกดอากาศ1006.7 hPa
ฝน 3 ชม.เล็กน้อยวัดไม่ได้
พระอาทิตย์ขึ้นเช้าพรุ่งนี้06:07 น.
พระอาทิตย์ตกเย็นวันนี้18:14 น.
อุณหภูมิสูงสุดวานนี้33.5°C
อุณหภูมิต่ำสุดเช้าวันนี้26.0°C
ฝนสะสมวันนี้0.3 มม.


24 ชั่วโมงที่ผ่านมา | ค่าเฉลี่ย 30 ปี 26 กันยายน 2554
พยากรณ์อากาศ 7 วัน 


วันนี้
26/09
พรุ่งนี้
27/09
พุธ
28/09
พฤหัสบดี
29/09
ศุกร์
30/09
เสาร์
01/10
อาทิตย์
02/10

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 40% ของพื้นที่

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 50% ของพื้นที่

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 50% ของพื้นที่

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 50% ของพื้นที่

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 50% ของพื้นที่

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 50% ของพื้นที่

ฝนฟ้าคะนอง
33 °C
25 °C
ฝนฟ้าคะนอง
ฝน 40% ของพื้นที่



7 วันที่ผ่านมา

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

พิษณุโลกระกำ

    ถึงครา พิษณุโลกระกำ...เพราะพนังกั้นน้ำของแม่น้ำวังทองไม่สามารถทนทานต่อปริมาณน้ำที่หลากมาจากลุ่มน้ำเข็กหรือเทือกเขาเพชรบูรณ์นั่นแล ฝั่งซ้ายของลำน้ำวังทองนั้นไม่ต้องพูดถึง แตกกระจายเป็นหนที่ 3 แล้ว ก็นับว่าหนักหนาสาหัสประกอบกับการสร้างถนนเลียบแม่น้ำบ้าง ทำชลประทานขวางทางน้ำบ้าง หมู่บ้านทั้งหลายตอนนี้จึงเหมือนเกาะๆหนึ่ง และจะเป็นเช่นนี้ต่อไป หากไม่มีการแก้ไข และประดาน้ำก้อนนี้ก็ไม่สามารถระบายได้ เพราะหากระบายตามพื้นที่ราบละก็ ตัวเมืองพิษณุโลกจะรับเต็มๆ ครั้นจะระบายลงแม่น้ำน่านก็ไม่ได้ เพราะล้ำน้ำน่านหรือก็ล้นเหลือล้น รอเวลาไหลล่องไปยังนครสวรรค์
   ตอนนี้ลำน้ำฝั่งขวาของลำน้ำวังทอง ก็พังแล้วเช่นกัน เพียงแต่เป็นจุดเล็กๆที่สามารถระบายให้ล่องไปกับคลองต้นน้ำ ไหลล่องไปท่วมทางใต้ เช่น บางกระทุ่ม พิจิตร ขณะนี้..ก็...รอเพียงอย่างเดียว ว่าพนังกั้นน้ำลำน้ำวังทองใต้ลงมา มีหลายจุดที่กำลังจะพัง มีชาวบ้านรวมใจช่วยกันรักษาคูค่ายอยู่ ว่าจะทนทานได้นานสักเพียงใด ถ้าไม่มีน้ำมาเพิ่มเติม ก็...ยังพอมีความหวัง แต่...ถ้าไม่ไหว แน่นอนตัวเมืองพิษณุโลก รับเต็มๆ
   ส่วนคนพื้นล่าง..ใต้พิษณุโลกลงมา..แน่นอนน้ำเหนือครานี้ รุนแรงมาก..มากกว่าที่เคยมีมาแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

น้ำท่วมวังทอง

   สภาพน้ำท่วมบ้านเรือนในเขต อ.วังทองพิษณุโลก

      ไม่ใช่จับปลานะภาพนี้ แต่เป็นภาพที่ชาวนาช่วยกันช้อนข้าวเปลือกที่ตากแห้งไว้บนถนน เพราะนาน้ำท่วม แต่ก็ไม่พ้นน้ำระลอกที่ 2
      สาเหตุน้ำท่วม มาจากน้ำที่หลากมาจากลำน้ำเข็กของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการทำพนังกั้นน้ำสูง 1 เมตรจากระดับตลิ่ง แต่ปริมาณน้ำที่มากและไหลเร็ว (ไม่มีป่าไม้ชะลอน้ำ...อีกแล้ว) ที่ซ้ำหนัก ก็คือระบายลงลำน้ำน่านไม่ได้ นอกจากระบายไม่ได้แล้ว น้ำในลำน้ำน่านยังหนุนขึ้นมาอีก ท่วมจ้า...
     เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก น้ำที่หลากมาจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ จะท่วมล้นตลิ่งแม่น้ำวังทองจริง แต่น้ำจะมาอย่างช้าๆ เรียกว่า รู้ว่าน้ำล้นตลิ่ง น้ำจะมาถึงก็อีกหลายชั่วโมง ยิ่งถ้าเป็นน้ำจากเทือกเขาโดยตรงนี้ ..ก็หลายวันกว่าจะมาถึง
     แต่ชาวบ้าน..ไม่ได้เป็นทุกข์เป็นร้อนกันนัก เว้นแต่รายที่ข้าวยังเล็กมากๆ ประเภทยืดลำต้นไม่ทันน้ำ ประเภทนี้ข้าวจะตายได้ แต่โดยทั่วๆไป ข้าวหนีน้ำได้อยู่แล้ว แล้วก็ท่วมไม่เกินอาทิตย์สองอาทิตย์
     ดีเสียอีก ที่ได้จับปลาที่มากับน้ำหลาก เตรียมเสบียงไว้ยามหน้าเกี่ยวข้าว
     เด็กๆ หรือ เป็นที่สนุกสนานเขาล่ะ เพราะได้เล่นน้ำตามคันนาและท้องนา แต่ขอโทษ เถอะ น้ำที่หลากมาในสมัยนั้น เชื่อหรือไม่ ว่า ใสจนเห็นตัวปลา เวลาอาบน้ำ เขาก็อาบน้ำในท้องนากันนี่แหละ ไม่ต้องไปอาบในห้องน้ำหรือในโอ่งหรอก เพราะน้ำในโอ่ง เขามีไว้กิน

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

บางระกำ ถึง ลุ่มน้ำำเข็ก

    วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม ก็ได้ทราบว่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำเข็ก (แม่น้ำวังทอง พิษณุโลก) น้ำท่วมเพราะพนังกั้นน้ำไม่ไหว ที่ราบลุ่มแม่น้ำเข็กรับน้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์เป็นที่ราบลาดเทเข้าหาตัวจังหวัดพิษณุโลก ลงแม่น้ำน่านที่เมืองพิษณุโลก ปริมาณน้ำขนาดมหาศาล มากที่สุดเท่าที่เห็นคนที่เกิดมากว่า 50 ปี แน่นอนปริมาณน้ำนี้รวมกับน้ำจากลำน้ำยม ท่วมดาดเข้าพิจิตร (บางระกำ น่ะไม่ต้องพูดถึงแล้ว ในตอนนี้) เข้านครสวรรค์ แน่นอนว่าที่ลุ่มภาคกลางจะทนรับน้ำไว้ได้นานสักเท่าใด ครานี้ ก็จะระกำกันไปทั่ว แต่กรุงเทพจะเป็นอย่างไร ก็ไม่แน่ใจ ถ้าเดือนตุลาคม -พฤศจิกายน น้ำยังไม่ซา ก็จะเจอวิกฤติจากน้ำเหนือกับน้ำทะเลหนุน กทม. จะรอดไหม