น้ำท่วมปี 2554
ณ วันนี้ 1 พฤศจิกายน 2554 คนกรุงเทพฯ อยู่ในภาวะตึงเครียดกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะคนที่อยู่ชั้นใน (เพราะกรุงเทพฯ ชั้นนอกน้ำได้ท่วมไปแล้ว หลังจากที่อดทนรอว่า น้ำจะท่วมหรือไม่ และ เมื่อไร..แบบมืดมนจริงๆ.บางเขน จตุจักร มีนบุรี ลาดกระบัง และฝั่งธนบุรีที่หนักที่สุด ตอนนี้) น้ำบางส่วนข้ามถนนรามอินทรามาบ้างแล้ว แต่เป็นแบบค่อยๆมา เหมือนๆกับไม่น่าจะท่วม แต่ก็ท่วม...อธิบายอะไร ได้แค่นี้ คือ ภาวะนี้ ไม่รู้ว่า จะมีน้ำมาหรือไม่ เหมือนน้ำมันหยุดนิ่ง แต่ก็ท่วมโครมๆ ในฝั่งธนบุรี แต่ก็มีข่าวประปรายบ้างในย่านตะวันออก เอ...เอาเป็นว่า ไม่มีใครตอบได้ ก็แล้วกัน
ณ วันนี้ 1 พฤศจิกายน 2554 คนกรุงเทพฯ อยู่ในภาวะตึงเครียดกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะคนที่อยู่ชั้นใน (เพราะกรุงเทพฯ ชั้นนอกน้ำได้ท่วมไปแล้ว หลังจากที่อดทนรอว่า น้ำจะท่วมหรือไม่ และ เมื่อไร..แบบมืดมนจริงๆ.บางเขน จตุจักร มีนบุรี ลาดกระบัง และฝั่งธนบุรีที่หนักที่สุด ตอนนี้) น้ำบางส่วนข้ามถนนรามอินทรามาบ้างแล้ว แต่เป็นแบบค่อยๆมา เหมือนๆกับไม่น่าจะท่วม แต่ก็ท่วม...อธิบายอะไร ได้แค่นี้ คือ ภาวะนี้ ไม่รู้ว่า จะมีน้ำมาหรือไม่ เหมือนน้ำมันหยุดนิ่ง แต่ก็ท่วมโครมๆ ในฝั่งธนบุรี แต่ก็มีข่าวประปรายบ้างในย่านตะวันออก เอ...เอาเป็นว่า ไม่มีใครตอบได้ ก็แล้วกัน
ปรากฎการณ์แบบนี้ มันไม่น่าจะเกิดขึ้นในยุคที่วิทยาศาสตร์เราก้าวหน้ามากๆ แบบอธิบายได้เป็นฉากๆ
ความผิดพลาดครั้งนี้ ใหญ่หลวงมากๆ เริ่มต้น จะไม่ขอกล่าว แต่อยากจะอธิบายในสิ่งที่น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
เช่น หลักการของฝายน้ำล้น..
น้ำเหนือบ่ามา ทุกๆเขตและจังหวัด ได้ช่วยกันสร้างเขื่อน เพื่อหวังว่าเขื่อนจะกั้นไม่ให้น้ำท่วม พื้นที่ เขต อำเภอ หรือจังหวัดของตน โดยลืมเสียสิ้นว่า
“เขื่อน” มีคุณสมบัติเก็บกักน้ำให้ได้ปริมาณมากๆ เขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างถาวรที่ต้องมีความแข็งแรงมากๆ เพียงพอต่อการรับแรงกดดันของน้ำตามปริมาณที่เก็บกักไว้
ภาพที่เห็นด้วยตาตนเอง และในทีวี...เขื่อนดิน (เหลวๆ) กับ กำแพงถุงทรายที่พยายามสร้างให้สูงที่สุด (เพื่ออะไร...กัน) พังทลายลงมา (อย่างที่มัน..จะเป็น) เมื่อน้ำไหลจากที่สูงกว่ามาสะสมกันจนระดับสูงขึ้นๆ (ความจริง ถ้ากำแพงที่สร้างทนได้ น้ำน่าจะสูงได้สัก 60 เมตร) แรงดันมหาศาลก็ทะลายกำแพงกั้นน้ำนั้นลงมา
แต่ที่ประหลาดใจ..ก็คือ..ทุกๆ พื้นที่ ได้พยายามสร้างเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมาให้สูงเท่าที่จะทำกันได้ และก็เป็นไปอย่างที่มัน..จะเป็น คือ เขื่อนแรกพัง...เขื่อนต่อมาก็จะพังต่อๆไปแบบโดมิโน
มันเป็น อย่างที่มันจะเป็น เขื่อนแรกกั้นน้ำไว้มากเข้าๆ จนแรงดันของมวลน้ำถึงจุดที่พังเขื่อนได้ น้ำก็ทะลักรุนแรง เพราะได้สะสมพลังงานไว้มากมาย เมื่อมาถึงเขื่อนต่อมา พลังงานที่สะสมไว้ยังไม่หมด แถมน้ำยังถูกบังคับให้สะสมพลังงานต่อไป เขื่อนชั้นต่อๆไป จึงหมูเหลือเกิน ..เราจึงเห็นสถานการณ์น้ำท่วมปี 2554 เป็นอย่างที่มันเป็น
ฝายน้ำล้น มีความมุ่งหมายที่จะชะลอน้ำให้ลดความรุนแรงและมีน้ำกักเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น ในกรณีของปี 2554 ถ้ากลับไปแก้ไขได้ หลักการฝายน้ำล้นจะมีประโยชน์มากที่สุด แต่..ท่วมน่ะ ท่วมแน่ หวังว่า คงไม่รุนแรงอย่างนี้
แทนที่จะสร้างเขื่อน ก็มาสร้างฝายน้ำล้นแทน โดยกำหนดให้สร้างคันน้ำล้นของจังหวัด/พื้นที่ให้ลดหลั่นกันลงมาตามระดับความสูงต่ำของพื้นที่และความลาดชัน ทุกๆพื้นที่ ยอมให้มีน้ำสูงได้ โดยไม่สร้างความเดือดร้อน เช่น จุดนี้สร้างคันน้ำล้นสูง 1 เมตร จุดต่อมา สูง 70 เซนติเมตร เป็นต้น
ความผิดพลาดครั้งนี้ ใหญ่หลวงมากๆ เริ่มต้น จะไม่ขอกล่าว แต่อยากจะอธิบายในสิ่งที่น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า
เช่น หลักการของฝายน้ำล้น..
น้ำเหนือบ่ามา ทุกๆเขตและจังหวัด ได้ช่วยกันสร้างเขื่อน เพื่อหวังว่าเขื่อนจะกั้นไม่ให้น้ำท่วม พื้นที่ เขต อำเภอ หรือจังหวัดของตน โดยลืมเสียสิ้นว่า
“เขื่อน” มีคุณสมบัติเก็บกักน้ำให้ได้ปริมาณมากๆ เขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างถาวรที่ต้องมีความแข็งแรงมากๆ เพียงพอต่อการรับแรงกดดันของน้ำตามปริมาณที่เก็บกักไว้
ภาพที่เห็นด้วยตาตนเอง และในทีวี...เขื่อนดิน (เหลวๆ) กับ กำแพงถุงทรายที่พยายามสร้างให้สูงที่สุด (เพื่ออะไร...กัน) พังทลายลงมา (อย่างที่มัน..จะเป็น) เมื่อน้ำไหลจากที่สูงกว่ามาสะสมกันจนระดับสูงขึ้นๆ (ความจริง ถ้ากำแพงที่สร้างทนได้ น้ำน่าจะสูงได้สัก 60 เมตร) แรงดันมหาศาลก็ทะลายกำแพงกั้นน้ำนั้นลงมา
แต่ที่ประหลาดใจ..ก็คือ..ทุกๆ พื้นที่ ได้พยายามสร้างเขื่อนกั้นน้ำขึ้นมาให้สูงเท่าที่จะทำกันได้ และก็เป็นไปอย่างที่มัน..จะเป็น คือ เขื่อนแรกพัง...เขื่อนต่อมาก็จะพังต่อๆไปแบบโดมิโน
มันเป็น อย่างที่มันจะเป็น เขื่อนแรกกั้นน้ำไว้มากเข้าๆ จนแรงดันของมวลน้ำถึงจุดที่พังเขื่อนได้ น้ำก็ทะลักรุนแรง เพราะได้สะสมพลังงานไว้มากมาย เมื่อมาถึงเขื่อนต่อมา พลังงานที่สะสมไว้ยังไม่หมด แถมน้ำยังถูกบังคับให้สะสมพลังงานต่อไป เขื่อนชั้นต่อๆไป จึงหมูเหลือเกิน ..เราจึงเห็นสถานการณ์น้ำท่วมปี 2554 เป็นอย่างที่มันเป็น
ฝายน้ำล้น มีความมุ่งหมายที่จะชะลอน้ำให้ลดความรุนแรงและมีน้ำกักเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น ในกรณีของปี 2554 ถ้ากลับไปแก้ไขได้ หลักการฝายน้ำล้นจะมีประโยชน์มากที่สุด แต่..ท่วมน่ะ ท่วมแน่ หวังว่า คงไม่รุนแรงอย่างนี้
แทนที่จะสร้างเขื่อน ก็มาสร้างฝายน้ำล้นแทน โดยกำหนดให้สร้างคันน้ำล้นของจังหวัด/พื้นที่ให้ลดหลั่นกันลงมาตามระดับความสูงต่ำของพื้นที่และความลาดชัน ทุกๆพื้นที่ ยอมให้มีน้ำสูงได้ โดยไม่สร้างความเดือดร้อน เช่น จุดนี้สร้างคันน้ำล้นสูง 1 เมตร จุดต่อมา สูง 70 เซนติเมตร เป็นต้น