วิถีชนบท กล่าวถึง วิถีชิวิตของชาวชนบทไทยในยุคเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดในวิถีชีวิตของคนไทยในภาคชนบท ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่ประสงค์จะแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ให้สาธารณชนทั่วไป สามารถโพสต์ข้อความในบล็อกนี้ได้โดยตรง ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการลงบทความต้องส่ง Gmail ให้เราเพื่อลงข้อมูลเป็น ผู้ใช้งานร่วมก่อน สำหรับบทเพลงในที่นี้ มีเพื่อแสดงให้เห็นถึงความซาบซึ้งที่มีต่อวิถีชนบท ไม่มีในเชิงการค้าใดๆทั้งสิ้น
วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วิถีชนบทกับการเปลี่ยนแปลง
วิถีชนบท ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ..หรือ จำเป็นต้องรับมัน ในอดีต เมื่อกลับบ้าน เราอาศัยทางเกวียนสำหรับการเดินหรือขี่จักรยาน ทางเกวียนก็เป็นลู่วิ่งของเรา ตอนที่เราพยายามจะพัฒนาร่างกายเพื่อสอบเข้าเตรียมทหาร วัน เวลาผ่านไปและไม่หวนคืน เรากลับไปบ้าน แรกเริ่มทางเกวียนก็ค่อยๆหายไป เพราะมีรถไถมือเข้ามาแทนและวิ่งไม่ประจำทางเหมือนก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีทางบ้างในตอนใกล้หมู่บ้าน ต่อมาทางวิ่งก็ไม่มี เพราะทำนากันปีละ 2 ครั้ง ทุ่งนา ที่มีตอซังข้าวก็ไม่มี หนองน้ำก็พลอยหายไปด้วย พืชผักตามบึงตามหนอง พวก อีไล อีเลิศ เลยไม่มีไปด้วย วิถีชีวิตที่เคยมีที่หาปลา หาผักก็เปลี่ยนไป อาศัยก็แต่บึงใหญ่ ที่วิถียังคงเดิม ชาวนาเอง เมื่อก่อนยังปลูกผัก ปลูกมันไว้กินยามหนาวมา มันปิ้งตอนเช้าตรู่ก็คงไม่มีให้เห็นอีกแล้ว วิถีของการพึ่งพาตนเองลดหายไปอย่างน่าตกใจ วิถีชีวิตการปลูกพืชสวนครัว เปลี่ยนเป็น ซื้อจากตลาด ซึ่งก็คือ ใช้เงินซื้อ ซื้อไปแทบทุกอย่าง ชาวนาในวันนี้ ไม่สามารถยืนหรือมีความพอเพียงได้ ในอดีตชาวนา อาจไม่ต้องมีเงินเลย แต่มีข้าว มีปลา มีผักและพริกที่พอเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้สบายๆ ทุกวันนี้ ถ้าชาวนาไม่มีเงิน อาจจะอยู่ได้ไม่กี่วัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
คุณสิงห์คิดว่าการเปลี่ยนแปลงในชนบทและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป มีสาเหตุมาจากอะไร เช่นเงินหาได้ง่ายขึ้น หรือชาวชนบทปรับตัวไม่ทันในการที่จะพัฒนาวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับการพัฒนาของสาธารณูปโภคที่รวดเร็ว และสะดวกขึน
ผมดูคลิปควายไถ ริมถนนคอนกรีตแล้วนึกถึงคันไถที่ไม่ได้มีการพัฒนารูปแบบมาอย่างน้อย 60-70 ปี ทำให้นึกถึงความผิดพลาดของการพัฒนาด้านการเกษตร และการพัฒนาโดยรวมของชาติ ครับ
แสดงความคิดเห็น